มาถึงขั้นตอนนี้ Ukulele Soprano Pineapple ตัวแรกเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้วครับ คงอีกไม่กี่วันจะได้ชื่นชมฟังเสียง Ukulele ตัวแรกที่เราลงมือทำด้วยตนเอง ความรู้สึกลึกๆ ดีใจอย่างไรบอกไม่ถูกเหมือนกันครับ ไม่เคยคิดเลยว่าจะสามารถสร้างเครื่องดนตรีได้ด้วยตัวเอง ^-^
การคำนวณ สเกล (Scale) ของ เฟรตบอร์ด (Fretboard) ผมใช้ตามหนังสือของ Hana Lima "Ukulele Construction Manual" ระบุไว้แต่ละขนาด โดยวัดจาก Nut ถึง Saddle ดังนี้
Baritone = 20 1/8 นิ้ว
Tenor = 17 นิ้ว
Concert = 15 นิ้ว
Soprano = 13 1/2 นิ้ว
วิธีคำนวณ ใช้ค่าคงที่ (Constant) 17.817 เป็นตัวหารค่าสเกล (Scale Lenght) ที่เรากำหนด Ukulele ที่ผมทำเป็น Soprano Size ผมกำหนดค่าสเกล = 13 1/2 นิ้ว หรือ 13.500 นิ้ว เอาค่าคงที่ 17.817 มาหาร จะได้ค่าระยะของเฟรตที่ 1 = 0.758 นิ้ว เอา 0.758 นิ้ว ไปลบ 13.500 นิ้ว ผลลัพท์ = 12.742 เอาค่าคงที่ 17.817 มาหาร จะได้ค่าระยะของเฟรตที่ 2 = 0.715 นิ้ว ทำอย่างนี้ไปจนถึงจำนวนเฟรตที่เราต้องการทำ เช่น Ukulele ตัวนี้ผมทำ 15 เฟรต ให้หารต่อเนื่องไป 15 ครั้ง ได้ดังนี้ (วัดหน่วยเป็น "นิ้ว" นะครับ)
ระยะจาก Fret to Fret
Fret 1 = 0.758
Fret 2 = 0.715
Fret 3 = 0.675
Fret 4 = 0.637
Fret 5 = 0.601
Fret 6 = 0.568
Fret 7 = 0.536
Fret 8 = 0.506
Fret 9 = 0.477
Fret 10 = 0.451
Fret 11 = 0.425
Fret 12 = 0.401
Fret 13 = 0.379
Fret 14 = 0.358
Fret 15 = 0.338
ระยะจาก Nut to Fret (ใช้วิธีวัดวิธีนี้จะทำให้ค่าแม่นยำมากกว่า ครับ)
ใช้ค่าที่หารได้บวกรวมกันที่ละเฟรตไปจนถึงเฟรตที่ 15
Fret 1 = 0.758
Fret 2 = 1.473
Fret 3 = 2.148
Fret 4 = 2.785
Fret 5 = 3.386
Fret 6 = 3.954
Fret 7 = 4.490
Fret 8 = 4.996
Fret 9 = 5.473
Fret 10 = 5.923
Fret 11 = 6.349
Fret 12 = 6.750
Fret 13 = 7.129
Fret 14 = 7.486
Fret 15 = 7.824
เห็นตัวเลขจุดทศนิยม 3 ตำแหน่ง แล้ว เพื่อนๆ คงสงสัยว่าจะวัดอย่างไรถึงจะได้ค่าที่ตรงละเอียดขนาดนั้น ไม่อยากครับ เพราะทุกวันนี้เค้ามี เวอร์เนียคาลิเปอร์ แบบ ดิจิตอล (Digital Vernier Caliper) วัดออกมาเป็นตัวเลขทำให้อ่านค่าง่ายชัดเจน ครับ
Fret 15 = 7.824




![]() |
อูคูเลเล่ ตัวน้อยวางบนคอมพิวเตอร์ |
Bridge
ทำจากไม้มะค่า ขนาดกว้าง 20 มิลลิเมตร ยาว 67 มิลลิเมตร หนา 7 มิลลิเมตร เซาะร่องใส่ Saddle กว้าง 3.175 มิลลิเมตร (1/8 นิ้ว) ส่วนใหญ่เค้าจะเซาะใส่ Saddle กว้าง 2 มิลลิเมตร แต่ผมไม่มีดอกเร้าเตอร์ (Router) ขนาด 2 มิลลิเมตร ครับ ส่วนรูปแบบของ Bridge ผมลบเหลี่ยม ลบมุม เล็กๆ น้อย พอดูไม่ให้จืดเกินไป รูสำหรับใส่สายใช้ดอกสว่าน ขนาด 1.2 มิลลิเมตร เจาะทะลุจาก Bridge ลงไปทะลุไม้หน้า (Soundboard) เวลาใส่สายต้องร้อยสายเข้าไปในตัวอูคูเลเล่ (Ukulele) เพราะคิดว่าน่าจะดูเรียบร้อยสะอาดตาดีครับ ถ้าใครชอบเปลี่ยนบ่อยๆ วิธีนี้จะไม่สะดวกนะครับ
![]() |
ยืนได้ด้วย * - * |
8 ความคิดเห็น:
ผมอยากจะถามหน่อยครับว่าไม้สามารถซื้อได้ที่ใหน เพราะผมก็อยากจะทำไว้เล่นเองเหมือนกัน
ลองดูที่นี่ครับ แต่เป็นไม้สำหรับทำกีตาร์นะครับ http://www.thamguitar.com/
ไม้ที่ผมมีเยอะพอสมควร แต่ยังไม่ได้ผ่า จัดเป็นชุดสำหรับทำอูคูเลเล่ ครับ อีกอย่างไม้บางส่วนยังเป็นไม้ใหม่ครับ อนาคตผมจะซอยเป็นชุดใช้สำหรับทำไซด์ Tenor ลงมา ประกอบด้วยไม้หน้า ไม้หลัง และไม้ข้าง และอาจแถมไม้ปะหัวให้ด้วยครับ
หากมีการ Post ใน Blog นี้ จะส่งข้อความที่ Post เข้าโทรศัพท์มือถือผมโดยอัตโนมัติ ดังนั้น ผมจะได้รับข้อความที่ Post ทันที ผมว่างแล้วจะรีบมาตอบทันทีเช่นกันครับ (^+^)
อยากทำอู๊คเป็นของขวัญอ่ะค่ะ แต่ไม่มีพื่นฐานเลย ไม้ต้องเอาจากไหน ประกอบยังไง มีสอนมั้ยคะ อยากทำเซอร์ไพร์สค่ะ รบกวนตอบด้วยนะคะ
ขั้นตอนการทำทั้งหมด รายละเอียดใน blog มีครบแล้วครับ แต่ถ้าจะทำเล่นตัวสองตัวอาจจะไม่คุ้มครับ เนื่องจากต้องลงทุนค่าเครื่องมือมาก การทำจริงๆ แล้วไม่ยาก แต่ต้องใช้เวลาและความอดทนบวกกับมีศิลปะในการตกแต่งอู๊คให้สวยงาม เรื่องไม้ดูตาม link คำตอบด้านบนเลยครับ
คุณครับพอจะบอกได้ไมครับ ลงทุน ซื้อเครื่องมือ ประมาณเท่าไรครับ. ขอบคุณครับ
เฟรมที่1-15 มีความสูงเท่ากันทั้งหมดใช่ไหมครับ
เฟรทครับ
ใช่ครับ
แสดงความคิดเห็น