วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไม้หน้า (Sound Board)

ไม้หน้า (Sound Board) คำที่นิยมเรียกส่วนประกอบของไม้แต่ละด้าน มักนิยมเรียกกันสั้นๆ ไม้หน้า (Sound Board) เรียกว่า "Top"  ไม้หลัง เรียกว่า "Back" และไม้ข้าง เรียกว่า "Side" ในบทความต่อๆ ไปผมอาจใช้คำที่นิยมดังกล่าวนะครับ

ไม้หน้า (Sound Board) ผมใช้ "ไม้เต็ง" ท่อนเดียวกับที่ทำไม้หลัง แต่สลับด้านการทำ Book Match กัน จึงได้ลวยลายที่แตกต่างกัน ครับ ขั้นตอนการทำ Book Match ทำเช่นเดียวกับไม้หลัง ผมไม่ได้ถ่ายรูปไว้


ขั้นตอนการทำ Enharmonic Bars

หรือเรียกสั้นว่า Tone Bars คือไม้ 2 อัน ที่ติดอยู่ด้านบนและด้านล่างของ Sound Hole ไม้ด้านบนเรียนว่า Upper Bar ไม้ด้านล่างเรียกว่า Waist Bar หรือในหนังสือคู่มือการทำ Ukulele ของ Hana Lima เรียกว่า Upper Horizontal Bar และ  Waist Horizontal Bar ไม้ 2 อันนี้ ผมใช้ขนาดเดียวและชนิดเดียวกับไม้ Back Bars แต่ไม่ต้องเหลาให้โค้งเหมือน Back Bars เมื่อติดกาวแห้งดีแล้ว ทำการเหลาแต่งรูปร่าง (Shaping) ผมเหลาด้านสูง 8 มิลลิเมตร ให้เรียวยอดแหลม แล้วมาเหลาแต่งปลายทั้ง 2 ข้างตามแนวนอนให้ลาดเอียงลง หรือที่ช่างทำกีตาร์เรียกว่า Scallop ไม้อันบน (Upper Bar) วัดจากจุดกึ่งกลางของ Sound Board ออกไปข้างละ 35 มิลลิเมตร และ ไม้อันล่าง (Waist Bar) วัดออกไปข้างละ 25 มิลลิเมตร แล้วทำ Scallop ลงไปยังปลายไม้รูปร่างโค้งลาดลงถึงปลายไม้


ขั้นตอนการทำ Bridge Patch

ในรูป คือ ไม้แผ่นใหญ่ด้านล่างสุด เรียกว่า Bridge Patch ตำแหน่งที่ติดตั้งจะอยู่ใต้ตำแหน่งที่จะติดตั้ง  Bridge ด้านบนของ Sound Board ขนาดที่ผมทำ กว้าง 25 มิลลิเมตร ยาว 125 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร (ตรงกลาง) แล้วลาดเอียงไปปลายทั้ง 2 ด้าน หนา 1.5 มิลลิเมตร  ส่วนกระดาษกาวสีฟ้า ติดไว้เพื่อป้องกันกาวเลอะติด Sound Board และป้องกันรอยของกบ และสิ่วจากการเหลาไม้

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสร็จแล้ว ต่อไปนำ Sound Board ไปประกอบเข้ากับไม้ข้างใน Mold ที่ทำไว้ ซึ่งวิธีการประกอบนี้มีหลายหลากวิธีแล้วแต่ความถนัด ความพร้อมของเครื่องมือที่มีอยู่ สำหรับผมเลือกใช้วิธี (ดูภาพประกอบ) ใช้น๊อตตัวหนอนขนาดเกลียว 6 มิลลิเมตร ยาว 13 มิลลิเมตร ฝังลงไปใน Mold รอบๆ ทั้งด้านบนและด้านล่างของ Mold เพื่อใช้ประกอบไม้หน้า และไม้หลัง เข้ากับไม้ข้าง ใช้น๊อตตัวผู้ยาว 40 มิลลิเมตร เป็นตัวยึด ครับ




กำลังติดกาวยึดไม้หน้าเข้ากับไม้ข้าง โดยใช้ประแจ 6 เหลี่ยม ขั้นให้แน่น ถ้าจะให้เร็วใช้สว่านไฟฟ้าใส่ดอกประแจ 6 เหลี่ยมขั้นเอาจะง่าย ครับ










ยึดด้านล่างไว้ให้แน่นเช่นกัน แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ประกบยึดมากเหมือนด้านหน้า เพราะแค่กดไว้ไม่ให้ไม้หน้าเคลื่อนหลวมเท่านั้น









ให้ดูภาพภายในชัดๆ ครับ










คราวที่แล้วผมหยุดการทำไม้หลังไว้ เพราะต้องมาทำขั้นตอนต่อไปของไม้หลัง หลังจากที่เราประกอบไม้หน้าเข้ากับไม้ข้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาโดยประมาณที่ต้องรอให้กาวแห้ง คือ 12 ชั่วโมง

หลังจากนั้นเรามาประกอบไม้หลังเข้ากับไม้ข้าง ทำเช่นเดียวกับไม้หน้า รอกาวแห้ง 12 ชั่วโมง






 
ผมลืมบอกไป ช่างกีตาร์แนะนำว่า ก่อนจะประกอบ Ukulele หรือ Guitar ก็ตาม ต้องดูความชื่นในอาการด้วย สำหรับประเทศไทย ความชื่นของอากาศอยู่ที่ระดับ 55-65 % กำลังดีครับ









เมื่อกาวแห้งดีแล้ว ไสด้านข้างของไม้หน้าและไม้หลังให้เรียบเสมอกับไม้ข้าง แล้วถอดออกจาก Mold ดังภาพ











Sound Hole รัศมี 27 มิลลิเมตร ส่วนร่องด้านหน้าของ Sound Hole ขนาดกว้าง 16 มิลลิเมตร ลึก 35 มิลลิเมตร เซาะร่องไว้สำหรับยึดติดกับคอ (Neck)











ไม้หลังที่ยึดกับไม้ข้างเสร็จแล้ว จะเห็นว่าลวดลายไม่เหมือนกับไม้หน้า เพราะสลับข้างในขั้นตอนการทำ Book Match










ไม้หลังโค้งๆ เพื่อผลทางเสียง









ไม่มีความคิดเห็น: