วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Fretboard and Bridge

Fretboard

มาถึงขั้นตอนนี้ Ukulele Soprano Pineapple ตัวแรกเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้วครับ คงอีกไม่กี่วันจะได้ชื่นชมฟังเสียง Ukulele ตัวแรกที่เราลงมือทำด้วยตนเอง ความรู้สึกลึกๆ ดีใจอย่างไรบอกไม่ถูกเหมือนกันครับ ไม่เคยคิดเลยว่าจะสามารถสร้างเครื่องดนตรีได้ด้วยตัวเอง  ^-^

การคำนวณ  สเกล (Scale) ของ เฟรตบอร์ด (Fretboard) ผมใช้ตามหนังสือของ Hana Lima "Ukulele Construction Manual" ระบุไว้แต่ละขนาด โดยวัดจาก Nut ถึง Saddle ดังนี้

Baritone = 20 1/8  นิ้ว 
Tenor     = 17       นิ้ว
Concert  = 15       นิ้ว
Soprano = 13 1/2  นิ้ว

วิธีคำนวณ ใช้ค่าคงที่  (Constant)  17.817 เป็นตัวหารค่าสเกล (Scale Lenght) ที่เรากำหนด Ukulele ที่ผมทำเป็น Soprano Size ผมกำหนดค่าสเกล = 13 1/2 นิ้ว หรือ 13.500 นิ้ว เอาค่าคงที่ 17.817 มาหาร จะได้ค่าระยะของเฟรตที่ 1 = 0.758 นิ้ว เอา 0.758 นิ้ว ไปลบ 13.500 นิ้ว ผลลัพท์ = 12.742 เอาค่าคงที่ 17.817 มาหาร จะได้ค่าระยะของเฟรตที่ 2 = 0.715 นิ้ว ทำอย่างนี้ไปจนถึงจำนวนเฟรตที่เราต้องการทำ เช่น Ukulele ตัวนี้ผมทำ 15 เฟรต ให้หารต่อเนื่องไป 15 ครั้ง  ได้ดังนี้ (วัดหน่วยเป็น "นิ้ว" นะครับ)

ระยะจาก Fret to Fret

Fret 1   =  0.758
Fret 2   =  0.715
Fret 3   =  0.675
Fret 4   =  0.637
Fret 5   =  0.601
Fret 6   =  0.568
Fret 7   =  0.536
Fret 8   =  0.506
Fret 9   =  0.477
Fret 10 =  0.451
Fret 11 =  0.425
Fret 12 =  0.401
Fret 13 =  0.379
Fret 14 =  0.358
Fret 15 =  0.338

ระยะจาก Nut to Fret  (ใช้วิธีวัดวิธีนี้จะทำให้ค่าแม่นยำมากกว่า ครับ)
 ใช้ค่าที่หารได้บวกรวมกันที่ละเฟรตไปจนถึงเฟรตที่ 15

Fret 1   =   0.758
Fret 2   =  1.473
Fret 3   =  2.148
Fret 4   =  2.785
Fret 5   =  3.386
Fret 6   =  3.954
Fret 7   =  4.490
Fret 8   =  4.996
Fret 9   =  5.473
Fret 10 =  5.923
Fret 11 =  6.349
Fret 12 =  6.750
Fret 13 =  7.129
Fret 14 =  7.486
Fret 15 =  7.824

เห็นตัวเลขจุดทศนิยม 3 ตำแหน่ง แล้ว เพื่อนๆ   คงสงสัยว่าจะวัดอย่างไรถึงจะได้ค่าที่ตรงละเอียดขนาดนั้น ไม่อยากครับ เพราะทุกวันนี้เค้ามี      เวอร์เนียคาลิเปอร์ แบบ ดิจิตอล (Digital Vernier Caliper) วัดออกมาเป็นตัวเลขทำให้อ่านค่าง่ายชัดเจน ครับ
Fret 15 = 7.824

วิธีวัดผมใช้ C Clamp จับยึด Vernier Caliper ไว้กับ Fretboard ให้แน่นและได้ฉาก หลังจากนั้นก็เลื่อน Vernier Caliper  วัดไปที่ละ Fret โดยใช้มีด Cutter กรีดขีดเส้นจะได้รอยเส้นเล็กๆ ไม่แนะนำให้ใช้ดินสอ เพราะปลายดินสอจะเป็นรอยขีดที่ใหญ่ ทำให้ขั้นตอนการเลื่อยร่อง Fret ไม่เที่ยงตรง ครับ

หลังจากทำการวัดระยะห่างของ Fret ครบทุก Fret ตามที่ต้องการแล้ว เริ่มทำการเลื่อยร่อง Fret กันต่อ ครับ ความกว้าและความลึกของร่องที่เราจะตอก Fret Wire ลงไปต้องดูตามขนาด Fret Wire ที่ระบุไว้  ตามรูประบุไว้ว่าใช้สำหรับ Mandolins, Ukulele และอื่นๆ

เลื่อยที่ใช้เลื่อนร่อง Fret Wire ผมซื้อจาก eBay.com ราคารวมค่าส่งแล้ว 1,900 บาท กว่าบาท ถือว่าแพงเอาเรื่องเหมือนกัน

วิธีเลื่อยไม่มีอะไรยาก ผมทำบล็อกไม้สำหรับยึด Fretboard ให้แน่นและนิ่ง หลังจากนั้นทำการเลื่อยตามปกติ ด้านขวาของใบเลื่อยจะมีพลาสติกหนาประมาณ 1/8 นิ้ว เป็นตัวกำหนดความลึกของรอยเลื่อยตามที่เราตั้งไว้อยู่แล้ว ซึ่งสามารถปรับความลึกได้ ครับ

เลื่อยเสร็จแล้วครับ ความยาวของ Fretboard ที่จะใช้ ยาวถึงไม้บรรทัดที่วางไว้นะครับ
ภาพอีกมุม ครับ

ตอก Fret Wire เสร็จแล้ว และติดเข้ากับคอ เรียบร้อยแล้ว ครับ ตอก Fret Wire เสร็จแล้วครับ


อูคูเลเล่ ตัวน้อยวางบนคอมพิวเตอร์


Bridge

ทำจากไม้มะค่า ขนาดกว้าง 20 มิลลิเมตร ยาว 67 มิลลิเมตร หนา 7 มิลลิเมตร เซาะร่องใส่ Saddle กว้าง 3.175 มิลลิเมตร (1/8 นิ้ว) ส่วนใหญ่เค้าจะเซาะใส่ Saddle กว้าง 2 มิลลิเมตร แต่ผมไม่มีดอกเร้าเตอร์ (Router) ขนาด 2 มิลลิเมตร ครับ ส่วนรูปแบบของ Bridge ผมลบเหลี่ยม ลบมุม เล็กๆ น้อย พอดูไม่ให้จืดเกินไป รูสำหรับใส่สายใช้ดอกสว่าน ขนาด 1.2 มิลลิเมตร เจาะทะลุจาก Bridge ลงไปทะลุไม้หน้า (Soundboard) เวลาใส่สายต้องร้อยสายเข้าไปในตัวอูคูเลเล่ (Ukulele) เพราะคิดว่าน่าจะดูเรียบร้อยสะอาดตาดีครับ ถ้าใครชอบเปลี่ยนบ่อยๆ วิธีนี้จะไม่สะดวกนะครับ









ยืนได้ด้วย * - *

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คอ (Neck)

ไม้ที่นิยมใช้ทำคอ (Neck)  คือ ไม้มะฮอกกานี (Mahogany) เค้าว่ากันว่าให้เสียงดี และน้ำหนักไม้กำลังพอดี ส่วนของผมใช้ไม้ยอป่า ซึ่งได้มาเมื่อ 5-6 ปี ที่แล้ว จึงมั่นใจได้เรื่องความแห้งของไม้ เนื่องจากไม้มีขนาดไม่พอดีกับขนาดของคอ Ukulele ผมจึงซอยไม้ออก แล้วนำมา Laminate กัน และทำ Book Match กัน เหมือนไม้หน้า (Top) และไม้หลัง (Back) รูปภาพขั้นตอนการทำผมไม่ได้ถ่ายไว้ เนื่องจากทำหลังเลิกงาน กว่าจะเสร็จแต่ละขั้นตอนก็ดึกทุกคืน แต่จะมีรูปที่ทำเสร็จแล้วให้ดูหลากหลายมุมมอง ครับ


<===== ในภาพเป็นไม้ที่ Laminate  และไสเรียบแล้ว หลังจากนั้นนำไปตัดตรงส่วนหัว มุม 15 องศา โดยใช้ฉากเหล็กปรับองศาได้เป็นเครื่องมือในการวัด ครับ สีขาว 1 เส้นในรูป คือ เทปกาว 2 หน้า ใช้สำหรับติดไม้ส่วนหัวที่ตัดออกจากกัน แล้วกลับด้านเอามาติดด้านบน เพื่อจะทำการไสให้เรียบเสมอเป็นองศาเดียวกัน แต่ไม่ต้องกลัวเรื่ององศาจะคลาดเคลื่อนนะครับ เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 12-15 องศา

<===== กลับไม้ส่วนหัวมาติดไว้ด้านบน ชิ้นงานจะยึดติดด้วยกระดาษกาว 2 หน้า พร้อมที่จะไสเรียบแล้วครับ

ปกติช่างทำ Ukulele หรือทำ Guitar     ====>      จะใช้กบไสเรียบ งานจะเสร็จเร็ว แต่ผมทำเครื่องไสแบบสะดวกสบายลงทุนน้อย คือ นำกระดาษทราย เบอร์ 80 ทากาวติดกับแผ่นเรียบของพอเหมาะ ทำที่จับไสเพิ่มอีกนิดหน่อย ก็ใช้ได้แล้ว ครับ
ภาพการติดกระดาษทราย เบอร์ 80       ====>




<=====  ขณะกำลังไสไม้ให้เรียบ
<==== ภาพขั้นตอนการติดกาวไม่ได้ถ่ายไว้ เพราะทำตอนกลางคืน ดูภาพที่ทำเสร็จแล้วแทนนะครับ โอกาสหน้าทำตัวใหม่จะพยายามถ่ายภาพให้ดี และมากกว่านี้ครับ


ด้านหลังที่ตะไบขัดคอให้แล้ว             ====>     ผมทำคอ แบบ Modern Flat Oval

ร่างแบบหัว จะทำรูปแบบอย่างไรถึงจะสวย ===>

<==== เซาะร่องเพื่อต่อกับตัวอูคูเลเล่ให้แข็งแรง

เซาะร่องที่ตัว Ukulele และ คอ (Neck) ====>    เสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะต่อเข่้าด้วยกันแล้ว ครับ  ข้อควรระวังขณะเซาะร่อง ต้องค่อยๆ ทำ และตรวจสอบความเที่ยงตรงของคอกับตัว Ukulele ให้เป็นเส้นตรงแนวเดียวกัน โดยดูจากรอยต่อตรงกลางไม้ที่เราทำการ Laminate






การต่อคอ ผมใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ =====>     ที่พอจะหาได้ในบ้าน คือ ระดับน้ำ เพื่อยึดให้คอได้ระดับกับตัว Ukulele ยางในรถจักรยานเสือภูเขาเก่าๆ 2 เส้น (ตัดผ่ากลาง) และยางยืดสำหรับมัดของท้ายจักรยาน เป็นวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลเกินคาดครับ

ภาพด้านตัว Ukulele


ต่อคอเสร็จเรียบร้อยแล้ว



ด้านหลัง

 



 
<=====      ต่อคอส่วนที่ยังไม่ครบ  เสร็จแล้วครับ คอทำด้วยไม้ยอป่า ต่อด้วยมะฮอกกานี สีเข้มๆ   2 ชิน เป็นไม้มะค่า สีอ่อนตรงกลางเป็นกระพี้ไม้เต็ง

<==== อีกด้าน ครับ รอขัดเรียบ และพ่นแล็คเกอร์

ไม้หน้า (Sound Board)

ไม้หน้า (Sound Board) คำที่นิยมเรียกส่วนประกอบของไม้แต่ละด้าน มักนิยมเรียกกันสั้นๆ ไม้หน้า (Sound Board) เรียกว่า "Top"  ไม้หลัง เรียกว่า "Back" และไม้ข้าง เรียกว่า "Side" ในบทความต่อๆ ไปผมอาจใช้คำที่นิยมดังกล่าวนะครับ

ไม้หน้า (Sound Board) ผมใช้ "ไม้เต็ง" ท่อนเดียวกับที่ทำไม้หลัง แต่สลับด้านการทำ Book Match กัน จึงได้ลวยลายที่แตกต่างกัน ครับ ขั้นตอนการทำ Book Match ทำเช่นเดียวกับไม้หลัง ผมไม่ได้ถ่ายรูปไว้


ขั้นตอนการทำ Enharmonic Bars

หรือเรียกสั้นว่า Tone Bars คือไม้ 2 อัน ที่ติดอยู่ด้านบนและด้านล่างของ Sound Hole ไม้ด้านบนเรียนว่า Upper Bar ไม้ด้านล่างเรียกว่า Waist Bar หรือในหนังสือคู่มือการทำ Ukulele ของ Hana Lima เรียกว่า Upper Horizontal Bar และ  Waist Horizontal Bar ไม้ 2 อันนี้ ผมใช้ขนาดเดียวและชนิดเดียวกับไม้ Back Bars แต่ไม่ต้องเหลาให้โค้งเหมือน Back Bars เมื่อติดกาวแห้งดีแล้ว ทำการเหลาแต่งรูปร่าง (Shaping) ผมเหลาด้านสูง 8 มิลลิเมตร ให้เรียวยอดแหลม แล้วมาเหลาแต่งปลายทั้ง 2 ข้างตามแนวนอนให้ลาดเอียงลง หรือที่ช่างทำกีตาร์เรียกว่า Scallop ไม้อันบน (Upper Bar) วัดจากจุดกึ่งกลางของ Sound Board ออกไปข้างละ 35 มิลลิเมตร และ ไม้อันล่าง (Waist Bar) วัดออกไปข้างละ 25 มิลลิเมตร แล้วทำ Scallop ลงไปยังปลายไม้รูปร่างโค้งลาดลงถึงปลายไม้


ขั้นตอนการทำ Bridge Patch

ในรูป คือ ไม้แผ่นใหญ่ด้านล่างสุด เรียกว่า Bridge Patch ตำแหน่งที่ติดตั้งจะอยู่ใต้ตำแหน่งที่จะติดตั้ง  Bridge ด้านบนของ Sound Board ขนาดที่ผมทำ กว้าง 25 มิลลิเมตร ยาว 125 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร (ตรงกลาง) แล้วลาดเอียงไปปลายทั้ง 2 ด้าน หนา 1.5 มิลลิเมตร  ส่วนกระดาษกาวสีฟ้า ติดไว้เพื่อป้องกันกาวเลอะติด Sound Board และป้องกันรอยของกบ และสิ่วจากการเหลาไม้

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสร็จแล้ว ต่อไปนำ Sound Board ไปประกอบเข้ากับไม้ข้างใน Mold ที่ทำไว้ ซึ่งวิธีการประกอบนี้มีหลายหลากวิธีแล้วแต่ความถนัด ความพร้อมของเครื่องมือที่มีอยู่ สำหรับผมเลือกใช้วิธี (ดูภาพประกอบ) ใช้น๊อตตัวหนอนขนาดเกลียว 6 มิลลิเมตร ยาว 13 มิลลิเมตร ฝังลงไปใน Mold รอบๆ ทั้งด้านบนและด้านล่างของ Mold เพื่อใช้ประกอบไม้หน้า และไม้หลัง เข้ากับไม้ข้าง ใช้น๊อตตัวผู้ยาว 40 มิลลิเมตร เป็นตัวยึด ครับ




กำลังติดกาวยึดไม้หน้าเข้ากับไม้ข้าง โดยใช้ประแจ 6 เหลี่ยม ขั้นให้แน่น ถ้าจะให้เร็วใช้สว่านไฟฟ้าใส่ดอกประแจ 6 เหลี่ยมขั้นเอาจะง่าย ครับ










ยึดด้านล่างไว้ให้แน่นเช่นกัน แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ประกบยึดมากเหมือนด้านหน้า เพราะแค่กดไว้ไม่ให้ไม้หน้าเคลื่อนหลวมเท่านั้น









ให้ดูภาพภายในชัดๆ ครับ










คราวที่แล้วผมหยุดการทำไม้หลังไว้ เพราะต้องมาทำขั้นตอนต่อไปของไม้หลัง หลังจากที่เราประกอบไม้หน้าเข้ากับไม้ข้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาโดยประมาณที่ต้องรอให้กาวแห้ง คือ 12 ชั่วโมง

หลังจากนั้นเรามาประกอบไม้หลังเข้ากับไม้ข้าง ทำเช่นเดียวกับไม้หน้า รอกาวแห้ง 12 ชั่วโมง






 
ผมลืมบอกไป ช่างกีตาร์แนะนำว่า ก่อนจะประกอบ Ukulele หรือ Guitar ก็ตาม ต้องดูความชื่นในอาการด้วย สำหรับประเทศไทย ความชื่นของอากาศอยู่ที่ระดับ 55-65 % กำลังดีครับ









เมื่อกาวแห้งดีแล้ว ไสด้านข้างของไม้หน้าและไม้หลังให้เรียบเสมอกับไม้ข้าง แล้วถอดออกจาก Mold ดังภาพ











Sound Hole รัศมี 27 มิลลิเมตร ส่วนร่องด้านหน้าของ Sound Hole ขนาดกว้าง 16 มิลลิเมตร ลึก 35 มิลลิเมตร เซาะร่องไว้สำหรับยึดติดกับคอ (Neck)











ไม้หลังที่ยึดกับไม้ข้างเสร็จแล้ว จะเห็นว่าลวดลายไม่เหมือนกับไม้หน้า เพราะสลับข้างในขั้นตอนการทำ Book Match










ไม้หลังโค้งๆ เพื่อผลทางเสียง









วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไม้หลัง (Back Board)

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจเข้ามาเยี่ยมชม D Ukulele Blog ซึ่งเป็น Blog ที่นำเสนอการทำอูคูเลเล่ ( Ukulele) เพื่อเอาไว้เล่นเอง หรือเพื่อนๆ ท่านใดมีฝีมือดี มีเวลาและโอกาสอาจทำเป็นอาชีพได้เช่นกันครับ 

หลังจากที่ผมห่างหายไปพักหนึ่งแล้ว วันนี้มีขั้นตอนการทำ "ไม้หลัง" (Back Board) มานำเสนอครับ ผมจะพยายามนำเสนอด้วยภาษาพูดง่ายๆ เพื่อนๆ จะได้ทำเล่นกันได้ หากมีข้อสงสัยประการใดซักถามได้นะครับ ส่วนเพื่อนๆ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำอูคูเลเล่ (Ukulele) หรือทำกีตาร์ (Guitar) มาช่วยแนะนำ จักขอบคุณยิ่ง นะครับ

ติดไม้ 2 แผ่นเรียบร้อยแล้ว

การทำไม้หลัง (Back Board) หรือไม้หน้า (Sound Board) โดยทั่วไปนิยมใช้ไม้แผ่นบางๆ ตามความหนาที่ต้องการมาต่อกัน (Laminated) ในลักษณะเงาในกระจก (กลับด้านกัน) ภาษาช่างทำกีตาร์ เรียกว่า Book Match เพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงาม และอีกนัยหนึ่งเพื่อให้เกิดความแข็งแรงในการรับแรงดึงจากสายมากขึ้น





วิธีการทำ เตรียมไม้หลัง 2 แผ่น ผมใช้ความหนาประมาณ 1.6-1.7 มิลลิเมตร (เพราะ Size Soprano รับแรงดึงจากสายไม่มากนัก) อุปกรณ์ และเครื่องมือ มีบล็อกไม้ ผมทำด้วยไม้ MDF ( Medium Density Fiber) หนา 18 มิลลิเมตร กว้างยาวตามความเหมาะสมของชิ้นงานที่เราจะทำการ Book Match ครับ ถ้าจะให้ดีควรใช้ไม้อัดชั้นจะแข็งแรงทนทานกว่าครับ





ในภาพกำลังติดกาวยึดไม้หลัง 2 แผ่น เข้าด้วยกัน โดยใช้ C Clamp ยึดบีบหัวท้ายของไม้หลังให้แน่น ตรงรอยต่อของไม้หลังอย่าลืมเอากระดาษรองทั้งด้านบนและด้านล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้กาวเลอะออกไปติดกับบล็อกไม้ และไม้ที่กดทับด้านบนนะครับ



กาว และลิ่มที่ใช้ตอกบีบอัดด้านข้างของไม้หลังให้ติดกันแนบสนิท ข้อความระวัง อย่าตอกลิ่มให้แน่นเกินไป เพราะจำทำให้ไม้หลังแตกได้ เนื่องจากไม้หลังบางมาก






ไม้หลังที่ติด Back Bar ด้านขว้าง 2 อัน เสร็จแล้ว Back Bar ผมใช้ไม้สน (Spruce) ทำ ความหนา 6 มิลลิเมตร สูง 8 มิลลิเมตร ผมเหลาให้โครงจากกึ่งกลางไม้ด้านที่ติดกับไม้หลังโค้งไปถึงปลายไม้ (Back Bar) สูงขึ้น 4 มิลลิเมตร เพื่อทำให้ไม้หลังโค้ง ช่างทำกีตาร์บอกว่าจะทำให้เสียงก้องกังวาลสะท้อนเสียงดีขึ้น




Back Strip คือ ไม้ที่ติดตรงกลาง ผมใช้ไม้สน ภาษาช่างทำกีตาร์จะเรียกทับศัพท์ว่า Spruce ความหนา 1.5 มิลลิเมตร กว้าง 12 มิลลิเมตร ช่วงที่เป็นจุดตัดกันกับ Back Bar ให้ตัด Back Strip ออกนะครับ



ดูไม้หลังโค้งๆ ครับ



ต่อไปนำไปประกอบเข้ากับไม้ข้างที่เราติด Kerfing เรียบร้อยแล้ว ทดลองจัดวางดู แล้วทำเครื่องหมายที่ Kerfing ตรงจุดที่ติดกับ Back Bar ทำการเซาะร่อง Kerfing ให้พอดีกับส่วนที่ Back Bar สามารถประกบไม้หลังเข้ากับไม้ข้างไดเแนบสนิท (ขั้นตอนนี้ยังไม่ติดกาวนะครับ)




 



สำหรับการทำไม้หลัง (Back Board) ขอหยุดไว้แค่นี้ก่อนนะครับ